ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บblogเทคนิคการสร้างเครือข่ายในการเรียนรู้

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทบาทของการศึกษานอกระบบในการพัฒนาชุมชน


บทบาทของการศึกษานอกระบบในการพัฒนาชุมชน
            การศึกษากับการพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกจากกันได้แม้ว่าจะมีหน่วยงานรับผิดชอบด้านการพัฒนาชุมชนอยู่โดยเฉพาะ (คือ กรมพัฒนาชุมชน) แต่หน้าที่ของกรมพัฒนาชุมชนโดยแท้จริงนั้น คือ การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำบริการไปสู่ชุมชน คงไม่ได้หมายความว่า กรมพัฒนาชุมชนจะไปดำเนินการพัฒนาชุมชนโดยลำพังเพราะหน่วยงานวิชาการผู้มีคามชำนาญในสาขาต่าง ๆ ย่อมมีหน้าที่และความพร้อมทที่จะเข้าไปช่วยดำเนินการในสาขาที่ตนมีความถนัดสันทัดด้วยกันทั้งสิ้น
            การศึกษานอกระบบในความหมายที่กล่าวมาหมายถึงกิจกรรมทางการศึกษาที่จัดขึ้นนอกระบบโรงเรียนไม่ว่าจะโดยหน่วยงานใด ดังนั้น จึงเป็นงานที่กว้างขวางมาก และย่อมมีความจำเป็นต่อการพัฒนาชุมชนอย่างไม่เปนที่สงสัย
บทบาทของการศึกษานอกระบบต่อการพัฒนาชุมชน
            1.การพัฒนุมชนจะเป็นไปได้ก้ต่อเมื่อประชาชนเองเป็นผู้ดำเนินการซึ่งจะเรียกว่าเป้นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนแปลง (Change  Agent) ก็ได้ การที่ประชาชนเองจะทำหน้าที่ที่นี้ได้จำเป็นต้องมีการศึกษาไม่เพียงแต่ในด้านทักษะและข้อมูลข่าวสารเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องมีเจตคติที่เหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินการดำเนินชีวิตแบบใหม่ด้วย ดังนั้น กระบวนการในการให้การศึกษา จึงต้องมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในด้านพฤติกรรมของประชาชน ( Coomds,1981 : 54 - 55)
            2.ประชาชนต้องไม่เพียงแต่เป็นฝ่ายรับ และดำเนินการไปตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่แต่จะต้องเข้าใจเหตุผลอย่างชัดแจ้งในการดำเนินการใด ๆ ในชุมชนของตนเอง ซึ่งอาจจะกล่าวว่าประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดปัญหา การกำหนดโครงการการดำเนินงานตามโครงการไปจนการประเมินผล การดำเนินงานทั้งหลายทั้งปวงเพื่อพัฒนาชุมชน โดยเหตุนี้การศึกษาจึงมีความจำเป็นเพื่อฝึกประชาชนให้เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาและมีขีดความสามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
            3.การศึกษานอกโรงเรียนย่อมมีบทบาทในการขจัดการไม่รู้หนังสืออันเป็นอุปสรรคสำคัญในการสื่อสาร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาในระยะยาว แม้ว่าวิธีการสื่อสารจะสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีต่าง ๆ ก็มีข้อจำกัดในตัวเอง เช่น ไม่มีทางนำมาทบทวนได้ ไม่สามารถจะคงอยู่ได้ถาวร ขาดความชักเจนและแน่นอน การสื่อสารเป้นตัวหนังสื่อนั้น จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะให้ไปสู่สรรพวิทยาการเพื่อการพัฒนาตนเองและชุมชนในระยะยาว
            4.การศึกษานอกโรงเรียนช่วยให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถ มีเจตคติที่ถูกต้องในการพัฒนาและในการจัดให้มีสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิต ดังเช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย การดูแลรักษาสุขภาพ การจัดหาน้ำดื่มที่สะอาด
            5.การศึกษานอกโรงเรียนช่วยให้ประชาชนเพิ่มขีดความสามารถในการฝึกฝนอบรมให้มีทักษะทางอาชีพอันเป็นที่ต้องการของนายจ้าง หรือการประกอบการอิสระ เช่น ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การสหกรณ์ และการบริการทั่วไป
            6.การศึกษานอกโรงเรียน ช่วยให้ประชาชนได้ตระหนักในความเสมอภาค และความเป็นธรรม ดังเช่น ความรู้ในกฎหมายภาษีอากร กฎหมายปฏิรูปที่ดิน กระบวนการยุติธรรม กรรมสิทธิ์ สิทธิในครอบครัว สิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบรัฐธรรมนูญ
            7.การศึกษานอกโรงเรียน มีบทบาทช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม ดังเช่น การลดอัตราการเพิ่มประชากร การลดขนาดของครอบครัว การมีเจตคติแบบ  “ทันสมัยการลดความเชื่อในไสยศาสตร์ และโชคลาง (UNESCO, 1981 : 16)
            8.การศึกษานอกโรงเรียน ช่วยให้ประชาชนมีพื้นฐานความรู้ทั่วไป หรือความรู้สามัญสูงขึ้น อันเป็นส่วนเกื้อกูลต่อการพัฒนาชนบท ดังเช่น ความรู้ในเครื่องมือการสื่อสาร (ได้แก่ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาประจำชาติ และภาษาท้องถิ่น) ความรู้ในการคำนาณ  ความรู้ใหลักวิชาวิทยาศาสตร์  ความรู้ในหลักวิชาสังคมศึกษา  และหน้าที่พลเมือง
ก่อ    สวัสดิ์พาณิช (2535 : 312 - 319) ได้กล่าวถึงการศึกษานอกโรงเรียนมีผลต่อการพัฒนาประเทศ  ดังนี้
            1.การรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ  การไม่รู้หนังสือของประชาชนจำนวนมากถือว่าเป็นปัญหาสังคมซึ่งอาจทำให้การพัฒนาประเทศหยุดชะงักหรือเชื่องช้าลงได้
            2.การฝึกฝนอาชีพ  ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่และประชาชนในเมืองบางส่วนมักขาดความรู้หรือความชำนาญในงานช่างบางอย่าง
            3.การพัฒนาการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 รัฐบาลในสมัยนั้นได้จัดส่งข้าราชการออกไปบรรยายการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนฟังอย่างกว้างขวาง
            4.การพัฒนาเกษตรกรรม  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มหาวิทยาลัย  และวิทยาลัยเกษตรกรรมต่าง ๆ รวมทั้งองค์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรของเอกชนเป็นจำนวนมากได้ช่วยกันให้การศึกษาแก่เกษตรในรูปแบบต่าง ๆ การเกษตรของไทยทั้งด้านพืชและสัตว์จึงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
5.การพัฒนาอุตสาหกรรม  การศึกษานอกโรงเรียนมีส่วนในการพัฒนาอตสาหกรรมในรูปของการศึกษาต่อเนื่อง
6.การพัฒนาสังคม  กระทรวงมหาดไทยโดยอาศัยความร่วมมือจากกระทรวงอื่นได้ใช้การศึกษานอกโรเรียนพัฒนาสังคมในชนบทได้ผลหลายอย่าง
7.การพัฒนาค่านิยม  องค์กรศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทยนอกจากจะสอนศาสนาแล้วยังอบรมให้ประชาชนยึดมั่นใหลักศีลธรรมอันดี
8.การพัฒนาวัฒนธรรม  รายการวิทยุและโทรทัศน์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับมักมีบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรม
โครงการพัฒนาชุมชนตามแนวทางการศึกษานอกโรงเรียน
            ตัวอย่างโครงการพัฒนาชุมชนตามแนวทางการศึกษานอกโรงเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2532 : 155 - 158) ได้ทำการศึกษาในเขตพื้นที่ชนบทใน     พ.ศ. 2532 จำแนกได้ป็น 5 กลุ่ม ตามรายชื่อโครงการภายใต้หัวข้อต่อไปนี้ คือ
1.ด้านการศึกษา
            2.ด้านการเกษตร
            3.ด้านการสาธารณสุข
            4.ด้านความรู้เพิ่มเติมเพื่อการดำรงชีวิต
            5.ความรู้ทางวิชาชีพ
ด้านการศึกษา
            1.โครงการรณรงค์ผู้ไม่รู้หนังสือแห่งชาติ
            2.โครงการการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จอาสาสมัครเดินสอน
            3.โครงการการศึกษานอกโรงเรียนระดับ ม. ต้น
            4.โครงการจัดการศึกษานอกโรงเรียนระดับ ม.ปลาย , อาชีพ
ด้านการเกษตร
            1.โครงการอบรมทำนาแผนใหม่                      2.โครงการส่งเสริมการทำนาน้ำฝน
            3.โครงการอบรมการใช้ยาคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าว            4.โครงการทำปุ๋ยหมัก
5.โครงการอบรมการดูแลรักษาไม้ผล             6.โครงการอบรมการจัดบ้านเรือน
7.โครงการอบรมแก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตร    8.โครงการแปลงส่งเสริมข้าวพันธุ์ดี
9.โครงการส่งเสริมปลูกถั่วเหลือง      10.โครงการส่งเสริมปลกถั่วลิสง
11.โครงการส่งเสริมการปลูกอ้อย       12.โครงการส่งเสริมการปลูกสับปะรด
13.โครงการปลูกพืชทดแทนมันสำปะหลัง         14.โครงการเพาะเห็ดฟาง
15.โครงการปลูกมะพร้าวแบบสวนหลังบ้าน             16.โครงการอนุรักษ์ดินน้ำ
17.โครงการอบรมการกรีดยางพารา                18.โครงการให้ความรู้เคหกิจเกษตร
19.โครงการเกษตรแหล่งน้ำหมู่บ้าน     20.โครงการอบรมเกษตรผู้นำและเกษตรหมู่บ้าน
21.โครงการอบรมการปลูกข้าวโพด   22.โครงการส่งเสริมปลูกผลไม้แบบสวนหลังบ้าน
ด้านสาธารณสุข
            1.โครงการปั้นโอ่งด้วยซีเมนต์                        2.โครงการอบรมโภชนาการ
3.โครงการวางแผนครอบครัว             4.โครงการสุขาภิบาลอาหาร
5.โครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม       6.โครงการงานควบคุมอุจจาระร่วง
7.โครงการควบคุบวัณโรค                  8.โครงการบัตรสุขภาพ
9.โครงการงานควบคุมโรคเรื้อน         10.โครงการควบคุมไข้มาลาเรีย
ความรุ้เพิ่มเติมเพื่อการดำรงชีพ
            1.โครงกาอบรมจัดค่ายเยาชน                          2.โครงการอบรมคณะกรรมการหมู่บ้าน         3.โครงการอบรมอาสาสมัครคุมประพฤติ  4.โครงการอบรมเยาชนด้านการกีฬา
5.โครงการอบรมหัวหน้าคุ้ม                          6.โครงการส่งเสริมแม่บ้านครอบครัวพัฒนา
            7.โครงการอบรม ทสปช.                              8.โครงการพัฒนาสตรี (สตรีอาสา)
ความรู้ทางวิชาชีพ
             1.โครงการอบรมกลุ่มสนใจ
            2.โครงการกลุ่มสนใจดอกไม้ใบตอง
3.โครงการกลุ่มสนใจวิชาเพ้นท์สี
4.โครงการกลุ่มสนใจวิชาเย็บปักถักร้อย
5.โครงการกลุ่มสนใจวิชาศิลปะประดิษฐ์ โภชนาการ
6.โครงการกลุ่มสนใจอาหาร ขนม
7.โครงการอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นตัดเย็บเสื้อผ้า
8.โครงการอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
9.โครงการอบรมการทำน้ำปลาจากปลาร้า
10.โครงการกลุ่มสนใจกลุ่มสตรีวิชาแกะสลักผลไม้
11.โครงการอบรมเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก
12.โครงการฝึกอบรมสตรีด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า
13.โครงการอบรมเยาวชนด้านเครื่องจักรกลการเกษตร
14.โครงการอบรมถักประดิษฐ์
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2532 : 155 - 158)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น